การแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Innovation for Sustainable Local Development นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

การแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Innovation for Sustainable Local Development นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ในการนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก
เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 26-28 กุมภาพันธ์ 2566

ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้การต้อนรับท่านรัฐมนตรีและท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง ที่บริเวณนิทรรศการมีชีวิต โครงการ “การสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากฟาร์มต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ได้มีโอกาสรายงานผลการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ “นำร่อง” ในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชนรอบๆฟาร์มกวาง จังหวัดสุโขทัย

และยังได้มีโอกาสต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งท่านได้ให้กำลังใจในการนำการวิจัยไปสร้างโอกาสให้กับชุมชน…

ขอขอบพระคุณสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง… ที่ให้โอกาสมานำเสนอผลงานในครั้งนี้….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

ร่วมงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมการแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และทีมฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมการแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Innovation for sustainable local development นวัตกรรมกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวเปิดงาน ณ โรงแรมเดอะเฮอริเทจเชียงราย 26-28 กุมภาพันธ์ 2566

จัดนิทรรศการนวัตกรรมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการแสดงผลงานวิจัยนวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย “นวัตกรรมกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

26 กุมภาพันธ์ 2566

กว่าจะทำอะไรเสร็จ… มักจะยากเสมอ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับการทำงานของเราเป็นประจำในการจัดนิทรรศการ ดูเหมือนจะง่าย แต่มักจะเต็มไปด้วยรายละเอียด อาจจะเป็นเพราะเรื่องราวของเรา ที่เกิดจากการสั่งสมการทำงานมาอย่างยาวนาน จะทำอะไรขึ้นมาสักอย่างมักจะต้อง ”คิดมาก” ว่าสามารถสื่อสาร “สาระ” ออกมาได้ครบถ้วนหรือไม่ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน… กับการจัดนิทรรศการนวัตกรรมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการแสดงผลงานวิจัยนวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย “นวัตกรรมกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2566

การจำลอง ”ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง สุโขทัย” มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องจัดเตรียมเยอะมากจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของโครงการวิจัย “การสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากฟาร์มต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่นี่… เราจะได้บอกเล่าเรื่องราวของชาวชุมชนจังหวัดสุโขทัย… ผ่านออกมาเป็นผลงานวิจัยที่จะเป็นการเริ่มต้นเล่าเรื่องบนวิถี “ปรัชญาแห่งความพอ”

ขอบคุณอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และหอปรัชญารัชกาลที่ 9 ทุกท่านที่ให้การต้อนรับเหมือนพี่น้อง…

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

ลิ้งวีดีโอบรรยากาศการจัดงาน IMG_3624

การตามหา “สัญลักษณ์” และ “แก่น” วิถีสังคมของชุมชนจังหวัดสุโขทัย

คุณธัชมน ที่ทำ #ขนมแดกงา และคุณพรกัญญา จากร้าน #พรพ่อขุนรามสังคโลกแอนด์คราฟท์ ก็เป็นผู้หญิงแกร่งอีกสองคนจากหลาย ๆ คนที่เราได้มีโอกาสรู้จักจากการทำโครงการวิจัยตลาดชุมชนฟาร์มกวาง

คนแรกสอนให้เราลึกซึ้งถึงการสู้ชีวิตจากฝีมือการทำขนมแดกงา ที่เป็นขนมไทยโบราณ หาเลี้ยงครอบครัวด้วยลำแข้งของตนเอง ลูกสาวที่เติบโตมากับขนมแดกงา ที่ไม่เคยลืม “บุญคุณ” ของสรรพสิ่งรอบตัวและเคยนำมาเล่าถ่ายทอดให้เราฟังในการทำกิจกรรมครั้งแรกในตลาดชุมชนฟาร์มกวาง

ส่วนคุณพร ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ กับฝีมือการวาดลาดลาย “ปลากา” หรือปลาตะเพียนบนแผ่นขี้เลื่อยไม้ที่ไม่ธรรมดา ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสพูดคุย แม้เพียงเวลาสั้นๆ แต่มักจะรับรู้ถึง “ความสงบเรียบง่าย” ที่ถ่ายทอดผ่านการพูดจา

การตามหา “สัญลักษณ์” และ “แก่น” วิถีสังคมของชุมชนจังหวัดสุโขทัย ยังต้องดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่หน้าที่หลัก แต่การสร้างความเข้มแข็งให้สังคม เป็นสิ่งที่ตั้งใจจากนี้ไป เป็น “บุญคุณ” ที่อยู่ในมโนสำนึกที่จะตอบแทนสังคมเท่าที่ชีวิตนี้จะทำได้

ขอบคุณสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง… ที่ให้โอกาส

วันหนึ่ง… เราจะกลับมา

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้ในห้วงคำนึงของพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก

 

จากนี้ไป… หากคิดจะปวารณาตัวเป็น “เสา” เพื่อจะช่วยค้ำยันชุมชน คงต้องรู้จัก “การแบก” ที่อดทนด้วย..

ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุของฤดูแล้ง… การค้นหา “มูลเหตุ” แห่งปัญหาความเดือดร้อนในการทำมาหากินของชีวิตชาวบ้านในชุมชน ยังคงดำเนินต่อไปอย่างเงียบๆ หลังการดำเนินโครงการวิจัย เพื่อนำมาเป็นแนวทางทางในการช่วยค้นคิดหาวิธีการ “แบ่งเบา” ความทุกข์เข็ญ

ได้มีโอกาส “ถก” ถึงรากของปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน ทั้งกับผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น อดีตกำนัน และถูกดึงเข้าไปใจกลางการประชุมเสวนาระหว่างผู้นำชุมชนกับธนาคารเพื่อการเกษตรแบบไม่ทันตั้งตัว ทำให้พอจะได้ข้อมูลใหม่ ๆ มา “ประกอบร่าง” แนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ให้กับทีมวิจัยของฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง…

จากนี้ไป… หากคิดจะปวารณาตัวเป็น “เสา” เพื่อจะช่วยค้ำยันชุมชน คงต้องรู้จัก “การแบก” ที่อดทนด้วย..

วันหนึ่ง… เราจะกลับมา

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้ในห้วงคำนึงของพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก

ถึงแม้โครงการวิจัยจะสิ้นสุดลงแล้ว… แต่สายใยแห่งความกังวล ยังอยู่ในห้วงความคิดอยู่ตลอดเวลา

ถึงแม้โครงการวิจัยจะสิ้นสุดลงแล้ว… แต่สายใยแห่งความกังวล ยังอยู่ในห้วงความคิดอยู่ตลอดเวลา สภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ จะส่งผลกระทบต่อขีวิตของผู้คนในชุมชนที่เคยร่วมใจกันมาตลอดเวลา 4 เดือน ในการสร้างสรรค์ “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” มากน้อยแค่ไหน? การติดตาม “ผลลัพธ์ (outcome)” และ “ผลกระทบ (impact)” เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยควรจะต้องตระหนัก…

ชีวิตผู้คนยังต้องดิ้นรนต่อสู้ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนของการก้าวย่างเข้าสู่ฤดูแล้ง เป็นเหมือนแรงกระตุ้นที่สำคัญให้เราต้องคิดทบทวน และคิดสร้างสรรค์ แสวงหาหนทาง และแนวทางใหม่ ๆ ในการเป็นแรงหนุนให้ผู้คนในชุมชนได้มีแรงเดิน แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน อยู่บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นอกเหนือจากหน้าที่อาจารย์สอนหนังสือ ขอทำตัวเป็นเสาอีกหนึ่งต้นที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้ำจุนสังคมและชุมชนนี้…

การเยี่ยมเยือนเพื่อนผู้เคยร่วมสร้างสรรค์ และมิตรใหม่ผู้อาวุโส ทำให้เราคิดได้ว่า…

วันหนึ่ง… เราจะกลับมา

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้ในห้วงคำนึงของพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย

ขอบคุณทุกการสนับสนุน ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง”

ขอบคุณ…

– อาจารย์จรูญ แดนนาเลิศ รองผู้อำนวยการหอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
– อาจารย์ ดร.อรุณี อินเทพ คณะกรรมการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
เจ้าหน้าที่ประสานงานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงทุกท่าน

ส่วนของวิทยากร
– คุณสุรจิตร ก้องวัฒนา วัฒนาฟาร์ม จ.ราชบุรี
– คุณอมตะ ปโชติการ อมตะไบโอฟาร์ม จังหวัดระยอง

ส่วนชุมชน
– คุณรัฐพงศ์ เฉิดพงษ์ตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า จ.สุโขทัย
– คุณอสุนี ชามั่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า จ.สุโขทัย
– คุณศักดิ์เกษม ตันติยวรงค์ บริษัทสุโขทัยพัฒนาเมือง จ.สุโขทัย
– ตัวแทนจากสำนักงานสภาเกษตรกร จ.สุโขทัย
– ตัวแทนจากตลาดชุมชน ผู้นำชุมชน และเกษตรกรรอบ ๆ ฟาร์มกวางและประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสุโขทัยทุกท่าน….

ที่มาร่วมกันระดมความคิดในเวทีเสวนา เสมือนการยื่นมือมาแปะภาพต่อ ตามความคิดของตน ในภาพผืนใหญ่ที่เป็นภาพชุมชนในฝัน…

โครงการ “การสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากฟาร์มต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ของสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน หรือที่รู้จักกันในนาม “ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง” ซึ่งในปัจจุบันจัดพื้นที่อันร่มรื่นเป็น “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูณ์แบบ เป็น “ศูนย์กลางใหม่” ในการทำกิจกรรมชุมชนและครอบครัวของ “คนสุโขทัย” ที่เป็นเสมือนตัวเชื่อมภาพต่อของดินแดน…รุ่งอรุณแห่งความสุข

โค้งสุดท้าย… ของโครงการที่ดำเนินติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 4 เดือน เห็นถึง ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ อย่างชัดเจน สะเทือนความรู้สึกของผู้คนในชุมชนในความรู้สึกรักและหวงแหนถิ่นฐานบ้านเกิด สะท้อนภาพที่ชัดเจนของความคิด ต่ออัตลักษณ์และตัวตนของความเป็นสุโขทัย สร้าง “พันธสัญญา” ใหม่ ของการขับเคลื่อนชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยหัวใจของคนสุโขทัย….

แล้ววันหนึ่ง… เราจะกลับมา

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้ในห้วงคำนึงของพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเสวนา การต่อยอดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์แก่ชุมชน

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2565 นี้…
เวลา 9.30 – 12.00 น.

นอกจากกิจกรรมเบา ๆ สำหรับครอบครัวแล้ว
พบการเสวนาแบบ “หนักหน่วง” ในบรรยากาศ “สบาย ๆ” ฤดูหนาว ภายใต้ร่มไม้ที่ร่มรื่นของตลาดชุมชนฟาร์มกวาง บนเรื่องราวของ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่กลมกลืนอยู่กับวิถีชีวิตของคนสุโขทัย ร่วมกันสะท้อน “แนวคิด” สู่หน่วยงานหลัก สร้าง “แนวทาง” การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของเรา… สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างจริงจัง

ชมการสาธิตวิธีการย่างเนื้อโค ตามคุณลักษณะของเนื้อ เพื่อพัฒนาต่อยอดการประกอบอาชีพการทำปศุสัตว์….
เชิญทุกท่านนะครับ

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้กับพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง จังหวัดสุโขทัย

แผนที่ https://goo.gl/maps/ACXBGQae68bpYiAe6

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย

กิจกรรมเสวนาเชิงปฏิบัติสร้างสรรค์ เรื่อง พวงกุญแจจากผงไม้มงคล

ทันทีที่ตวัดปลายพู่กันด้วยสีดำ บนชิ้นไม้ขนาดเล็กที่ทำขึ้นจากผงไม้หรือขี้เลื่อย ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของชุมชนบ้านขวาง แล้วนำมาผสมกับกาว และผงไม้มงคลต่าง ๆ ปั้นเป็นชิ้นงานต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการตามคำบอกเล่าของคุณพรกัญญา อยู่มา ร้านพรพ่อขุนรามสังคโลกแอนด์คราฟท์ ที่เป็นศิลปินชุมชนและวิทยากรในการเสวนาเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ในวันนี้ จิตใจสงบนิ่ง ลืมความเครียดและแรงกดดันต่าง ๆ จากชีวิต โดยเฉพาะการงานไปชั่วขณะ….

ปลายพู่กันลากเส้นโค้งพริ้วไหวไปตามลวดลายของ “ปลากา” หรือ “ปลาตะเพียน” หนึ่งในลวดลายที่สร้างอัตลักษณ์สำคัญ สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินถิ่นฐานจังหวัดสุโขทัย “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หวังว่าเด็ก ๆ ที่เพลิดเพลินกับการวาดแต่งแต้มสี สักวันเขาเหล่านี้จะเติบโตและซึมซับกับมันได้ในที่สุด…

กลับมาเถิดคนหนุ่มสาว ถิ่นฐานบ้านเก่า ยังรอพวกท่านกลับมาสู่…..

ขอบคุณ TASSHA สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่มอบโอกาสให้สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีโอกาส สื่อสารหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีค่าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชนและผู้มาเยือนตลาดชุมชนฟาร์มกวาง

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้กับพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง จังหวัดสุโขทัย

แผนที่ https://goo.gl/maps/ACXBGQae68bpYiAe6

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร

กิจกรรมการทำเมี่ยงโบราณ

เมี่ยงโบราณ หรือหมากเมืองเหนือ เป็นของว่างหลังมื้ออาหารของผู้คนทางภาคเหนือ อมหรือเคี้ยวเพื่อลดกลิ่นอาหาร ที่ติดอยู่ในปากได้เป็นอย่างดี ทั้งยังใช้เป็นอาหารต้อนรับแขกหรือญาติพี่น้องระหว่างพูดคุยพบปะกัน

เมี่ยงโบราณของสุโขทัยนั้น นำใบเมี่ยงหรือใบชาสดไปนึ่งและหมักให้มีรสเปรี้ยว ประยุกต์ร่วมกับ “เมี่ยงคำ” ของภาคกลางด้วยการห่อร่วมกับถั่วลิสง มะพร้าวคั่ว น้ำตาลปี๊บ และอื่นๆ

วิถีชีวิตของคนไทย นั้นล้วนผูกพันอยู่กับอาหารที่มีที่มาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ พืชหรือวัสดุในท้องถิ่น อาจมีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากถิ่นอื่นบ้าง แต่ก็ยังคงอยู่บน “วิถีแห่งความพอเพียง”

กิจกรรมการทำเมี่ยงโบราณ นอกจากการนำอาหารพื้นบ้านอย่างง่าย ๆ มาย้อนรำลึกให้เห็นถึงที่มา รากเหง้า วัฒนธรรมการกิน ให้เด็ก ๆ ตัวน้อย ๆ รวมถึงคนรุ่นใหม่ได้รับรู้แล้ว “หนึ่งคำของเมี่ยง” ยังสามารถสร้างมิตรภาพ รอยยิ้ม และความสุขให้กับคนในชุมชน อันจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยในการเผชิญกับทุกวิกฤตของสังคมโลกในวันนี้

ขอบคุณ TASSHA สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่มอบโอกาสให้สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีโอกาส สื่อสารหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีค่าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชนและผู้มาเยือนตลาดชุมชนฟาร์มกวาง

ฝาก “ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง” ไว้กับพ่อแม่พี่น้องชาวสุโขทัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน….

ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง จังหวัดสุโขทัย

แผนที่ https://goo.gl/maps/ACXBGQae68bpYiAe6

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #เมี่ยงโบราณ #เมี่ยงคํา