Episode : 4 บนเวทีเสวนาและนิทรรศการ
ขอบคุณ… ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ที่สร้าง และให้โอกาสดี ๆ กับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และ
”ธัชชา“ วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) ได้ร่วมงานกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชน…
มหาวิทยาลัยรามคำแหงของเราได้รับเกียรติเป็นอย่างมากจาก “เพื่อน” ร่วมงานมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด อาจเป็นเพราะเรามีฐานที่มาจากเด็ก ๆ และเยาวชนที่เป็นมวลชนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ต่างจังหวัดด้วยกัน “พูดจาภาษาเดียวกัน”
ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง นำแนวคิด ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง สุโขทัย เป็นสื่อในการนำเสนอต่อเพื่อน ๆ ใน “ระนาบ” เดียวกัน และได้รับความสนใจจากเยาวชน นักศึกษาที่มาเรียนรู้ “ศาสตร์พระราชา” ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และเทคโนโลยี ที่กำลังปะทะ แทรกซึม และโจมตีประเทศไทยในทุก ๆ ด้าน
ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นบนเวทีเสวนาถึงแนวทางในการดำเนินการในอนาคต ในฐานะฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อน “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อันอาจเป็น “ภูมิคุ้มกัน” ที่สำคัญต่อแรงปะทะอันเชี่ยวกรากของระบบเศรษฐกิจแห่งการแข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบันและอนาคต…
งานเสวนาวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรายงานผลการดำเนินงานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ในหัวข้อ“เศรษฐกิจพอเพียงกับ BCG สู่นวัตกรรมเชิงพื้นที่“ 4-5 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
#ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #ภารกิจใหม่ต่อชุมชน #งานวิจัยชุมชน #มหาวิทยาลัยรามคำแหง #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน