ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในบางครั้ง จะถูกบันทึกผ่านธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิต…. วิถีชีวิตของคนในดินแดน “สยาม” ที่ผสมผสานทั้ง ภาษา ความเชื่อ ที่มีมาแต่โบราณ

เราทำงานวิจัยด้วย “เจตจำนง” ว่า คุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ จะกลายเป็นต้นทุนทางสังคม ที่จะช่วย #สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับคนในชุมชนที่สร้างงานหัตถศิลป์

เขากวางแข็งเพียงข้างเดียว ที่ผ่านการแกะสลักอย่างบรรจง อาจบอกเล่าเรื่องราว ภาคอีสาน เช่น ปราสาทเขาพนมรุ้ง งานบุญบั้งไฟ
พญานาค ผีตาโขน ฯลฯ

เขากวางอีกข้างนึง บอกเล่าเรื่องราวภาคใต้ ดินแดนแห่งคาบสมุทร หนังตะลุง มโนราห์ ประเพณีชักพระ เรือกอแระ
และพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช

ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำงานหัตถศิลป์ 64 แบบ กว่า 98 ชิ้นงาน
มาจัดแสดงใน #มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 Thailand Research EXPO 2025 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์
ชั้น 22 เซ็นทรัลเวิลด์ 16-20 มิถุนายน 2568

แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจน้อง ๆ จากสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน และชมผลงานหัตถศิลป์ได้ที่ โซน งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) FL16 มหาวิทยาลัยรามคำแหง

“การเพิ่มมูลค่าเขากวางแข็งด้วยแนวทางสร้างงานหัตถศิลป์”

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

 

รายละเอียดงานแกะสลักวัฒนธรรมภาคอีสานบนเขากวาง 1 ข้าง

รายละเอียดงานแกะสลักวัฒนธรรมภาคใต้บนเขากวาง 1 ข้าง

บางสิ่งบางอย่าง….. คุณค่า ถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลา

ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำงานหัตถศิลป์ 64 แบบ กว่า 98 ชิ้นงาน                                มาจัดแสดงใน #มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ2568 Thailand Research EXPO 2025 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2568

แต่ละชิ้นงานผลิตจากเขากวางแข็งจากฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ความคิดสร้างสรรค์แต่ละชิ้นงาน เกิดจากไอเดียต่าง ๆ
จากงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ คุณจิตรภานุ อินทวงศ์ และน้อง ๆ สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน
ร่วมถักทอจินตนาการโดยช่างหัตถศิลป์ท้องถิ่นต่าง ๆ จากทั่วประเทศไทย หลากหลายวัฒนธรรม ความเชื่อ และวิถีชีวิต
ออกมาเป็นชิ้นงานที่จะกลายเป็น “ต้นแบบ” ในการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าของเขากวางแข็งให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกวาง
และรวมถึงมิติใหม่ของการสร้างงานหัตถศิลป์ในชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ

แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจน้อง ๆ จากสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน และชมผลงานหัตถศิลป์ได้ที่
โซน งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
FL16 มหาวิทยาลัยรามคำแหง

“การเพิ่มมูลค่าเขากวางแข็งด้วยแนวทางสร้างงานหัตถศิลป์”

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #สถาบันวิจัยและพัฒนา #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

 

จากทุ่งแล้ง ย่างเข้าฤดูฝน ทุ่งนามีน้ำ ทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม วัวควายก็มีอาหารกิน

24 พฤษภาคม 2568

จากทุ่งแล้ง ย่างเข้าฤดูฝน ทุ่งนามีน้ำ ทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม วัวควายก็มีอาหารกิน

 

จาก MOU สู่การลงมือก่อร่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้…

 

สืบเนื่องจาก ….

“บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนโคเนื้อสู่การผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพสูง ของจังหวัดสุโขทัย ”

 

โดยมี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในนามสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ลงนามร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัย บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสุโขทัย (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด, บริษัท สุโขทัยพัฒนาเมือง จำกัด,
สภาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย และสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ สปาแอนด์รีสอร์ต
จังหวัดสุโขทัย

 

ทำให้วันนี้ สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน kick off ปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการเสวนา วางแผนร่วมกันของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่อำเภอบ้านด่านลานหอย “นำร่อง” 5 ครอบครัว ได้แก่ คุณยอด น้อยผล, คุณอ๊อด ไชยวงษ์, คุณยงค์ เหลือลา, คุณวิเศษ บุญชม และคุณประสิทธิ์ บัวแก้ว
ร่วมกับ คุณกัญญาพันธ์ เจริญสวรรค์ ประธานสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดสุโขทัย และคุณธิติรัตน์ เป้วัด จากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัย
ที่ห้องประชุมฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อกำหนดสายพันธุ์โคเนื้อที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สภาพท้องถิ่น และวิถีชีวิตของจังหวัดสุโขทัย

ที่จะทำการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ หลังจากนั้นก็ออกเดินทางไปสำรวจพื้นที่คอกวัวในฟาร์ม ที่จะต้องปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน GFM ของกรมปศุสัตว์

 

ทำให้ย้อนนึกถึงประโยคหนึ่ง

 

“เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ”

 

ของในหลวงรัชกาลที่ 9 หนึ่งในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่เราทำโครงการตลาดชุมชนฟาร์มกวาง
และยังสอดคล้องกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ Ernst Friedrich Schumacher ที่ว่า

 

“Small Is Beautiful”

 

ซึ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชน ….😊

 

ขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชรานนท์

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน สำหรับสถานที่ ๆ สวยงามและพร้อมทุกเวลาในการเป็นศูนย์กลางประสานงานให้กับชุมชน

 

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน #สุโขทัย #โคเนื้อ #วัวเนื้อ #อาชีพเลี้ยงโค

กลับมาเตรียมพร้อมให้ตัวเอง…. ก่อนจะก้าวต่อ

13 พฤษภาคม 2568

สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน (สวสร.)
จัดให้มีโครงการพัฒนาบุคลากร เรื่อง “การสร้างความเข้าใจงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน”

 

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดมีย์ ระเบียบโลก รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร สร้างแรงขับเคลื่อน บอกเล่าเรื่องราวของแรงสะท้อนจากคนในชุมชน
ที่เราได้มีโอกาสเริ่มต้นเข้าไปร่วมสร้างข้อเสนอการวิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
ถ่ายทอดส่งต่อให้กับบุคลากรของทั้งสองสถาบันฯ ซึ่งในวันนี้มีตัวแทน “หน่วยกล้าตาย” รุ่นแรก คือ
อาจารย์ ดร. เกสรี พงษ์สังข์ ประธานสภาคณาจารย์ และ
ผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร. ณีรนุช ควรเชิดชู

รวมถึงอาจารย์ที่จะมา “รับไม้ต่อ” รุ่นถัดมา ที่จะเข้ามาเสริมกำลังสร้างสรรค์งานวิจัยของชุมชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ ชีวโศภิษฐ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาณิสรา เผือกแห้ว

อาจารย์สุรเวท โตเจริญ

 

เป็นการเตรียมปรับตัว และสร้างแรงหนุนให้กับคณาจารย์ที่เตรียมพร้อมจะทำงานร่วมกับคนในชุมชน ด้วยความตั้งใจ
ของฝ่ายสนับสนุนอย่างเต็มกำลังความสามารถ…

 

ขอบพระคุณ..

ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร. ณรัฐ วัฒนพานิช คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร. จักรี ไชยพินิจ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

อาจารย์ ดร.ก่อพงศ์ นามวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดศรีสะเกษ

 

ที่มาให้กำลังใจถึง อาคารสุโขทัย ชั้น 12 😄

 

และสุดท้าย

รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน ที่เป็น “แม่งาน” ในการจัดงานครั้งนี้

 

ที่สำคัญคือหัวหน้าสำนักงานเลขาฯ และเจ้าหน้าที่ทุก ๆ ท่าน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันจัดสถานที่และเตรียมงานทุกอย่าง

 

ในนามของ สวพ. และ สวสร. หวังลึก ๆ ว่า นอกจากคุณค่าในเชิงวิชาการ รวมถึงประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะเกิดโดยตรง
ต่อสังคมและชุมชนแล้วนั้น สิ่งที่จะเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญในสังคมรามคำแหงของเรา

คือ “เพื่อน” มิตรภาพ และความสามัคคี…

 

แด่สังคมที่ดีงาม…. 😊

 

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

 

 

จากความต้องการของชุมชน… จนกลายมาเป็น MOU

ผลกระทบ (impact) ที่สำคัญหลังจากเสร็จสิ้นโครงการวิจัย ”ตลาดชุมชนฟาร์มกวางสุโขทัย“
ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อสองปีที่แล้วคือความเชื่อมโยงที่ยังมีอยู่กับผู้คนในชุมชนมาโดยตลอด

ในช่วงปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน (ในนามฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ได้มีการประสานงาน
อย่างไม่เป็นทางการมาโดยตลอดกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัย
บริษัทประชารัฐรักสามัคคีสุโขทัย (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด
บริษัทสุโขทัยพัฒนา จำกัด สภาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย
และสมาพันธ์ SMS จังหวัดสุโขทัย
ในการเข้าไปรับทราบถึงปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของอาชีพการเลี้ยงวัวของเกษตรกรในชุมชนจังหวัดสุโขทัย
รับทราบถึงปัญหาและวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับอาชีพเก่าแก่ที่มีมาอย่างช้านานนี้ “…..ใครใคร่ค้าวัวค้า ค้าควายค้า…”
ที่ทุกท่านอาจเคยได้รู้จักประโยคนี้ในแบบเรียนตอนเด็ก ๆ

จนถึงปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อการดำรงอยู่ของอาชีพ หากไม่ได้รับการแก้ไขและสนับสนุน
อาชีพนี้อาจต้องสิ้นสุดลงและสูญหายไป จากพื้นที่ ทั้งที่เป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานและเป็นอาชีพที่ผู้คนมีทักษะที่ดีมาก ๆ อยู่แล้ว

จากสภาพของปัญหาดังกล่าวนั้น หากได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการลงมือแก้ไขอย่างเป็นระบบ
คาดว่าจะสามารถช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวสามารถดำรงชีพอยู่ในชุมชนท้องถิ่นของตัวเองอย่างยั่งยืนได้

 

จากการทำงานในภาคสนามจึงกลายมาเป็น…

“บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนโคเนื้อสู่การผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพสูงของจังหวัดสุโขทัย”

โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ลงนาม

รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน

ดร.สุรพัฒน์ มังคะลี รองอธิการบดีสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย คณะผู้บริหารอาจารย์
และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐฯ ภาคเอกชน และเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ร่วมเป็นพยาน
ณ สุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ตแอนสปา

 

นี่คงเป็นอีกเหตุผลสำคัญอีกครั้ง ที่จะช่วยสนับสนุนความตั้งใจของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ในการมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน”

ในนามของ รองศาสตราจารย์ ดร.มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อนและ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรชัย วงศ์วาสนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ขอกราบขอบพระคุณทุก ๆ ท่าน ด้วยหัวใจครับ…

 

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน
#มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน #สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย #สุโขทัย
#โคเนื้อ #วัวเนื้อ #อาชีพเลี้ยงโค

บทบาทใหม่ต่อจากนี้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงคือใช้การวิจัยที่ได้ข้อเสนอโครงการวิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงเพื่อนำพาสังคมด้วยองค์ความรู้ ส่งเสริม พัฒนาและทำงานไปด้วยกันกับผู้คนในสังคมและชุมชนเพื่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือการเป็น… “มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน”

21 มีนาคม พ.ศ. 2568

แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน ในครั้งนี้ได้มีโอกาสร่วมงานกับสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดให้มีการเสวนาวิชาการ เพื่อสร้างข้อเสนอการวิจัยที่เป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

ในงานเสวนาในครั้งนี้ ปรับรูปแบบใหม่โดยมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม นวัตกรรม ประเด็นทางสังคม การสาธิตกระบวนการผลิตสินค้าต่าง ๆ แม้แต่การแสดงหนังตะลุงที่ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นการ Talk Show สลับกับการพูดคุยทีละประเด็น ครอบคลุมทั้ง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ โดยหวังปักหมุดหมายสำคัญที่นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางก่อน แล้วกระจายตัวออกไปยังพื้นที่ใกล้เคียง

ความท้าทายใหม่ของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา คือ การนำพาสังคมและชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม

บทบาทใหม่ต่อจากนี้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงคือใช้การวิจัยที่ได้ข้อเสนอโครงการวิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงเพื่อนำพาสังคมด้วยองค์ความรู้ ส่งเสริม พัฒนาและทำงานไปด้วยกันกับผู้คนในสังคมและชุมชนเพื่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือการเป็น…

“มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน”

งานเสวนาครั้งนี้…
จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดบุคคลสำคัญที่บริหารจัดการและใส่ใจในรายละเอียดและทำงานอยู่เบื้องหลังทุก ๆ รายละเอียด คือ รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน

ความกระตือรือร้น และความร่วมมืออย่างเต็มที่ของท่านรองอธิการบดีสาขาฯนครศรีธรรมราช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เดมีย์ ระเบียบโลก

กำลังแรงและหัวใจจากทีม….
ดร. ยิ่งยง เมฆลอย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยและพัฒนา
คุณจิตรภานุ อินทวงศ์
(พี่เคน) หัวหน้า สนง.เลขา สวพ.
คุณเฉลิมพล แก้วกัลปพฤกษ์ (น้องเอ้)
คุณจักรพงษ์ พรหมคง (น้องจอม)
และ ทอง นกขุนทองตัวน้อยของท่านอาจารย์มณี ที่ขึ้นเหนือล่องใต้ไปด้วยกันพร้อมร้องเพลงให้พวกเราฟังตลอดทุก ๆ เส้นทาง

ขอบคุณ
– ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์การบริหาร และการศึกษาส่วนท้องถิ่น
– ทีมนักวิจัย (หน่วยกล้าตาย😄)
– เจ้าหน้าที่ของสาขาวิทยบริการฯ จังหวัด นครศรีธรรมราช ที่แข็งขัน

สุดท้าย กำลังใจที่สำคัญจาก..

ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหงผู้ช่วยศาสตราจารย์
วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์และท่านรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน
รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ และทีมผู้บริหาร ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทุกท่าน

ขอบคุณทุก ๆ ท่าน ด้วยหัวใจครับ…

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน #สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช #นครศรีธรรมราช


















20 มีนาคม พ.ศ. 2568 (ก่อนวันเริ่มงานเสวนา…)

20 มีนาคม พ.ศ. 2568 (ก่อนวันเริ่มงานเสวนา…)

แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน ในครั้งนี้ได้มีโอกาสร่วมงานกับสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดให้มีการเสวนาวิชาการ เพื่อแสวงหาความต้องการของชุมชน มุ่งสู่การเป็น #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

การกลับมานครศรีธรรมราชในครั้งนี้…
เป็นความท้าทายใหม่ในการวิจัยของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้นำสูงสุดในองค์กร ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ และทีมผู้บริหาร มีโอกาสตระเวณไปกับทีมอาจารย์นักวิจัย เก็บข้อมูลในพื้นที่ตำบลปากพูน

ได้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ หลากหลายมิติ ในมุมที่ต่างออกไป ทีมอาจารย์นักวิจัยได้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเบื้องต้น ได้รู้สุขทุกข์ อารมณ์และความรู้สึก ในการนำไปวิเคราะห์และสกัดออกมาเป็นโจทย์ในการสร้างข้อเสนอการวิจัยที่เป็นความต้องการของสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง

และเป็นช่วงเวลาที่ศิษย์เก่าได้บอกเล่า… เรื่องราวของตัวเองหลังจากจบการศึกษาออกไปจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง “มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน”

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน #สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียติจังหวัดนครศรีธรรมราช #นครศรีธรรมราช












 

 

 

 

 

 

แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน ในครั้งนี้ได้มีโอกาสร่วมงานกับสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา

4 มีนาคม พ.ศ. 2568

“…จะมีกี่คน…ๆ …เป็นทุกข์แทนคนอื่น…”

ท่อนนึงของเพลงจากคุณแอ๊ดคาราบาว ดังอยู่ในรถ ตอนตีสี่ครึ่ง ขณะขับออกกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา…

แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน ในครั้งนี้ได้มีโอกาสร่วมงานกับสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา จัดให้มีการเสวนาวิชาการ เพื่อแสวงหาความต้องการของชุมชน มุ่งสู่การเป็น #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

ได้รับเกียรติจากผู้นำชุมชน ภาคส่วนงานราชการ ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบการ ทั้งจากอำเภอเมือง อ.โชคชัย อ.ปักธงชัย อ.ครบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง มาบอกเล่าเรื่องราวในพื้นที่ ให้กับพวกเรารับฟัง เพื่อนำมาสังเคราะห์เป็น “โจทย์วิจัย“ ที่เกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

ได้รับรู้เรื่องราวหลาย ๆ เรื่องที่น่าชื่นชมในความร่วมมือของคนในชุมชน เรื่องราวที่เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน เรื่องราวของทรัพยากรท้องถิ่นสำคัญบางอย่างที่สูญหายไป เรื่องราวที่น่าสนใจในการใช้ และการจะนำมาต่อยอดโดยการใช้ ”การวิจัย“ เป็นกลไกช่วยเหลือชุมชนในนามของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้วยเวลาที่มีไม่มากนักในช่วงบ่าย ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลและรายละเอียดบางอย่างจากผู้ประกอบการที่นำผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นที่ต้องใช้ทั้งทรัพยากรบุคคลและผลผลิตต่าง ๆ ตลอดทั้งห่วงโซ่ และเราได้เห็นภาพทั้ง Output, Outcome และ Impact หากเราได้สร้างข้อเสนอโครงการวิจัยดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานฯ

” …. เรารอความหวังจากอาจารย์อยู่นะ …“

เป็นประโยคสุดท้ายก่อนพวกเราเดินทางกลับ ยังดังวนเวียนในห้วงความคิดตลอดเส้นทางขับรถกลับ กทม.

ขอบคุณ…

ผู้นำชุมชน และผู้บริหารส่วนราชการทุกท่าน
เจ้าหน้าที่ของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ทุกท่าน
ขนมเค๊กกล้วยหอมอันแสนอร่อยจากความตั้งใจทำเองของท่านรองอธิการบดีฯ สาขาฯ นครราชสีมา 😄
พขร. และท่านคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ที่อนุเคราะห์รถตู้ในการเดินทาง
คณบดีและรองคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
ประธานสภาคณาจารย์
อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์และวิทยาศาสตร์
รอง ผอ. สถาบันวิจัยและพัฒนา น้องเอ้และพี่เคน
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน (ที่เป็นแม่งาน)

พวกเราเดินทางกลับ กทม. ด้วยโจทย์วิจัยซึ่งจะนำมาพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการ ที่จะสร้างประโยชน์ในชุมชน ด้วยหัวใจที่ ”เป็นทุกข์แทนคนอื่น…“ ….แล้ว 😄

#มหาวิทยาลัยรามคําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน #สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียติจังหวัดนครราชสีมา #โคราช

เข้าหน้าแล้งแล้วจริง ๆ

เข้าหน้าแล้งแล้วจริง ๆ

สิ่งที่น่ากังวลที่สุดสำหรับฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงในช่วงหน้าแล้งคือ #ไฟป่า ที่ล้วนเกิดจาก “คน” ในทุก ๆ ปี มักจะถูกโจมตีจากฝั่งริมถนนสาย สุโขทัย-ตาก ที่ผ่านหน้าฟาร์ม แต่เพื่อความไม่ประมาทเราได้ทำแนวกันไฟไว้รอบพื้นที่ฟาร์มฯ กว่า 200 ไร่ ด้วยแรงเจ้าหน้าที่ประจำ 1 คน และที่มาจากส่วนกลาง 1 คน คนงานเลี้ยงกวาง 2 คน รวมถึง “มอม” 🐕 สุนัขไทยอายุกว่า 10 ปี ผู้ซื่อสัตย์ อีก 1 ตัว 😄 รวม 5 ชีวิต มีไม้กวาดเป็นอาวุธครบมือ 😅

สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติคือ การตรวจแนวกันไฟ และคอยกวาดใบไม้ที่หล่นตามแนวออก เป็นงานที่นอกเหนือจากงานประจำ

ระหว่างทางที่แห้งแล้ง ยังพอได้ชื่นชมความสวยงามของดอก Cochlospermum vitifolium ดู ๆ ไปคล้าย
สุพรรณิการ์มาก แต่กลีบไม่ซ้อน รวมถึงดอกงิ้ว ที่บานเต็มต้น

ยังเฝ้าระวังรักษาพื้นที่อยู่อย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางความร้อนระอุที่กำลังจะเพิ่มขึ้นทุกวัน….

#หาเลี้ยงตัวเอง #แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกวาง #งานวิจัย #ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ก่อนจะกลายเป็นตำนาน #สุโขทัย #ทุกชีวิต #newnormal #เขากวางอ่อน #stayin_alive #staying_alive #ฝึกอบรม #กวาง #กวางรูซ่า #RusaDeer #deer #หน้าแล้ง







 

 

 

 

ชื่อเสียงของ “โรงเหนียวยายศรี” นั้นดังไกลข้ามน้ำข้ามทะเล

11 มกราคม พ.ศ. 2568

แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน

ชื่อเสียงของ “โรงเหนียวยายศรี” นั้นดังไกลข้ามน้ำข้ามทะเล เช้าวันเสาร์ที่ 11 มค 68 (วันเด็ก) พวกเราจึงออกจากตัวเมืองไป ตำบลปากพูน อีกครั้ง ตั้งใจไปอุดหนุนขนมของคุณยายอย่างเต็มที่

เมื่อมาถึงก็ไม่ผิดหวัง #เหนียวห่อกล้วย เห็นถึงความตั้งใจในการห่อด้วยใบตอง รสชาติข้าวเหนียวที่คุ้มค่ากับการเดินทางมา และยังมี #ขนมขี้มัน ที่ไม่ได้กินมานานมากแล้วตั้งแต่ยังเด็ก ๆ

เพียงจะไปสวัสดีทักทายคุณยาย แต่กลายเป็นการสนทนาที่มีรสชาติ สนุกสนานมาก…

คุณยายบุญศรี นางนวล อายุ 77 ปี เจ้าของกิจการ “โรงเหนียวยายศรี” เปิดโรงเหนียวเพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่บีบบังคับให้การทำข้าวเหนียวห่อกล้วยต้องใช้วิธีส่งแบบ online โดยมี “น้องบัว” หลานสาวที่จบปริญญาโท บริหารธุรกิจ ม.รามคำแหง ของเรา บริหารการตลาดและการจัดส่งสินค้า

คุณยายศรี เปิดร้านที่เป็นบ้านของตัวเอง จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเหนียวห่อกล้วยยายศรี ร่วมกับคนในชุมชน ตกแต่งอย่างง่าย ๆ และยังเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอดการทำขนมให้กับผู้สนใจที่เดินทางมาจากที่ต่าง ๆ

คุณยายศรีเล่าให้ฟังว่า เคล็ดลับของท่านอยู่ที่การ “ใส่ใจ” แม้แต่จำนวนครั้งในการแช่และล้างข้าวเหนียว 😊 คุณยายบอกกับเราว่าจะไม่ยอมลดคุณภาพในการทำขนมลงอย่างแน่นอน ถึงแม้ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจจะทำให้ยอดการขายอาจไม่มากเหมือนช่วงสถานการณ์โควิด-19

คุณยายเป็นคนทันยุคสมัยมาก ๆ เรียนรู้ทุกเรื่อง รู้ถึงปัญหาค่าใช้จ่าย online ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องมีค่า “ยิงแอ็ด” เพื่อให้คนในโลก online เห็นเพจของคุณยายเพิ่มมากขึ้น 😃

หากนักวิจัยท่านใด ต้องการต่อยอดงานวิจัยในเชิงบริหารธุรกิจ ของสินค้าชุมชน หรือแม้แต่ในเชิงมานุษยวิทยา ของประวัติการดิ้นรนต่อสู้ชีวิต ก็เรียนเชิญได้เลยนะครับ

ก่อนกลับ นอกจากจะอิ่มขนม แล้วยังอิ่มอกอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูกที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือชุมชนในการอุดหนุนผลิตภัณฑ์หลากหลายมากมาย ขอบคุณคุณยายศรีมาก ๆ ครับ

#มหาวิทยาลัยราม
คําแหง #สถาบันวิจัยและพัฒนา #สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน #มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน