การทำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวาง เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy ที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง

3 มีนาคม 2566
(4 ชั่วโมง ก่อนไฟป่าจะเข้าประชิดรั้วฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

การทำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวาง เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy ที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งใจไว้นั้น มิได้มุ่งเน้นการค้าขาย แต่ต้องการใช้มูลกวางที่มีปริมาณมากให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนในช่วงเวลาต่อจากนี้…

ปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวาง อาจไม่ใช่ปุ๋ยที่เร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็วทันใจเหมือนปุ๋ยเคมีหรืออาหารของพืชที่ปลูกแบบไร้ดิน แต่มีคุณสมบัติการเพิ่มจุลลินทรีย์ที่จำเป็นต่อระบบนิเวศของดินให้ระบบของธรรมชาติทำงาน… สร้างความร่วนซุย และมีธาตุอาหารที่พืชใช้ประโยชน์ได้ทันทีอยู่พอสมควร

ลุงธง… (ธงชัย) เป็นศิษย์เก่ารัฐศาสตร์รามคำแหงที่มีบุคลิกพิเศษในความซื่อตรงและแข็งกร้าวดุจไม้บรรทัด แต่มีความอ่อนไหวทางอารมณ์เหมือนยอดหญ้า… เป็นคนที่ศึกษาการเพาะเลี้ยงไส้เดือนโดยไม่ต้องมีพื้นฐานทางชีววิทยาเลยแม้แต่น้อย มีเพียงความมุ่งมั่นที่จะทำงานที่ได้มอบหมายให้สำเร็จลุล่วงเท่านั้น

ความแข็งกร้าวของลุงธง กลับสามารถสอดประสานกันได้อย่างน่าประหลาดกับความอ่อนไหวและนุ่มนวลของไส้เดือน เด็กน้อยถึงแม้จะเป็นเด็กต่างจังหวัด บางคนกลับมีวิถีชีวิตแบบ “คนเมือง” ตามสังคมโลกาภิวัฒน์ ไม่ค่อยมีโอกาสคลุกขี้ดินขี้โคลนมากนัก

แต่ในวันนี้ไส้เดือนตัวน้อยในความดูแลของลุงธง อาจได้ทำหน้าที่ “ดึง” เด็ก ๆ ให้กลับมาสนใจผืนดินที่เขาเหยียบยืน จุดประกายความคิดบางอย่าง ได้มีโอกาสนำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวางไปใส่ต้นไม้แปลงผักในฟาร์มกวาง เป็นการถ่ายทอด “หลักปรัชญาแห่งความพอเพียง” โดยการ “สัมผัส” ด้วยใจและมือของตัวเอง…..

โปรดติดตามตอนต่อไป….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #ปุ๋ยมูลไส้เดือน

ชมคลิปวีดีโอบรรยากาศกิจกรรมให้ความรู้ด้านล่างนี้

คลิปวีดีโอกิจกรรมให้ความรู้