กลับมาพบกัน 11 พฤศจิกายน 2566 ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง

บรรยากาศเหงา ๆ …. ใต้เงาฝน 🦌

กลับมาพบกัน 11 พฤศจิกายน นี้
บนวิถีแห่งความพอเพียงนะครับ………😊

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #เศรษฐกิจBCG

 

 

 

การถ่ายทอดข้อมูลสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งจะต้อง update ข้อมูลทุกปีและถ่ายทอดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

เมื่อวานนี้ วันจันทร์ที่ 25 กย. 66 ที่ ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง

จังหวัดสุโขทัย

มีการถ่ายทอดข้อมูลสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งจะต้อง update ข้อมูลทุกปีและถ่ายทอดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อเป็นการนำผลจากงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง

ขอบพระคุณมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ให้โอกาสพวกเราได้เป็นสะพานเชื่อมต่อของข้อมูลเหล่านี้มากกว่า 3,000 ข้อมูล ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์จัดระบบใหม่แล้วส่งต่อให้กับเกษตรกรและชุมชนในรูปแบบของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเกษตรกรจะได้นำข้อมูลจำนวนมากนี้ไปใช้ในการตัดสินใจและดำเนินงานในอาชีพต่อไป

กล้วยตานี (Musa balbisiana) อยู่ในวงศ์ MUSACEAE พืชสารพัดประโยชน์ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชักนำให้เราได้เดินทางไปพบกับคุณ นฤภรและคุณนงค์นุช ที่ อ.สวรรคโลค จ.สุโขทัย ผู้มีชีวิตผูกพันกับต้นกล้วยจนพวกเราสามารถสัมผัสได้ถึงอัธยาศัยไมตรี ตลอดเวลาของการพูดคุย…

วิสาหกิจชุมชนใบตองคลองกระจง
คุณนฤภร เข็มทอง หรือคุณอุ๊
17/1 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เบอร์โทรศัพท์ 082-165-9247

การมาเยือนที่คลองกระจงในครั้งนี้ ทำให้เราได้ความรู้มากมายจากคุณอุ๊เกี่ยวกับต้นกล้วย พืชที่มีประโยชน์และเรื่องราวเกี่ยวพันกับคนไทยทุกชีวิตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ได้รู้ถึงที่มา และสัณฐานวิทยาที่สร้างคุณค่าต่อมนุษย์อย่างเรา ภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนไทย ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในการนำทุกส่วนของต้นกล้วยมาใช้ประโยชน์…

ความมีน้ำใจ จิตสาธารณะ ไม่หวงความรู้ และพร้อมจะถ่ายทอดนวัตกรรมที่ตัวเองคิดและประดิษฐ์ได้ให้กับผู้คนอย่างน่าทึ่ง…

หากสนใจผลิตภัณฑ์ภาชนะที่ทำจากใบตองรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้คงเป็นจุดหมายปลายทางได้อย่างดี…

ที่ไม่ไกลกันมากนัก….

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมบ้านกรงทอง ม.9
คุณนงค์นุช รุ่งหนองกระดี่
ที่อยู่ 109/4 หมู่ที่ 9 ถนน ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ 089-406-7672 เพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากกาบใบของต้นกล้วย ในการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสาน ก็กำลังรอการมาเยือนของพวกเรา…

คุณนุชเล่าให้พวกเราฟังถึงความพยายามและการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ นานาประการ ในการสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ ความพยายามของการพัฒนาฝีมือในการสร้างชิ้นงานจักสานจาก “เชือกกล้วย” ที่มีความประณีตสวยงามแบบงาน Handcraft ความพยายามของบุคคลและหน่วยงานที่ช่วยเหลือผลักดัน และเช่นกันคือความเพิกเฉยอันน่าเสียดายของผู้เกี่ยวข้องซึ่งควรจะให้การสนับสนุนมากกว่านี้…

ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ ผลักดันวิสากิจชุมชนทั้งสอง โดยหวังว่าจะได้ใช้พื้นที่ของตลาดชุมชนฯ ของเราให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนจังหวัดสุโขทัยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้….

พวกเราเดินทางกลับจากสวรรคโลกด้วยความเหนื่อยล้าจากความร้อน… แต่ชุ่มชื่นอยู่ในใจลึก ๆ เพราะเริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงสอดคล้องของ BCG Economy และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนวิถีชีวิตของคนในชุมชนจังหวัดสุโขทัยชัดเจนมากขึ้น…

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #เศรษฐกิจBCG

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า และคณะของท่าน สจ. ได้เข้ามาเยี่ยมทักทาย ถามไถ่สารทุกข์

ก่อนกลับจากสุโขทัย….

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า และคณะของท่าน สจ. ได้เข้ามาเยี่ยมทักทาย ถามไถ่สารทุกข์ ซึ่งได้แจ้งท่านไปว่า ตลาดชุมชนฟาร์มกวางเราได้ไปต่อ…
ท่านบอกกับเราว่า ทาง ม. รามคำแหง จะทำกิจกรรมใด ทาง อบต. ยินดีส่งเสริมสนับสนุนเต็มที่

ก่อนเดินทางกับกรุงเทพฯ… ยังมีอีกหนึ่งที่ ๆ เราตัดสินใจไปเยือน

อำเภอทุ่งเสลี่ยม…

เป็นอีกหนึ่งอำเภอ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดูจะมีความแตกต่างจากสุโขทัยอยู่พอสมควรซึ่งอาจเป็นเพราะบรรพบุรุษที่ย้ายถิ่นฐานมาจากทางเหนือ นำพาวัฒนธรรมชาวเหนือที่แตกต่างมาผสมผสาน จนกลายเป็นกลิ่นไอที่แปลกใหม่ แต่ลงตัว…

ภายใต้บ้านเมืองที่สงบ ทุ่งหญ้า และขุนเขา กลับมีกิจกรรมการดำรงชีวิตที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก BCG และเศรษฐกิจพอเพียงอยู่อย่างน่าทึ่ง เพียงสองครอบครัวที่เราได้มีโอกาสใช้เวลาสั้น ๆ พูดคุย บอกเล่า แลกเปลี่ยน ประชาสัมพันธ์การมีตลาดชุมชนฟาร์มกวาง ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คล้ายมีพลังดึงดูดแห่งวิถีชีวิต ทีทำให้เราตั้งใจว่า หลังจากนี้ จะกลับมาเยือนเพื่อซึมซับ บางสิ่งที่่อบอวล ล่องลอย สอดแทรกอยู่ในทุกอณูของอากาศ …. ของชีวิตที่พอเพียง ☺️

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #เศรษฐกิจBCG

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ช่วงเวลาของการเริ่มต้นเกษตรกรรม เริ่มต้นของชีวิตชีวา….

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ช่วงเวลาของการเริ่มต้นเกษตรกรรม เริ่มต้นของชีวิตชีวา….

เหมือนสัญญาณเตือนให้เข้าสู่การเริ่มต้นบทที่สองของ..
“ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง สุโขทัย”

วันเวลาผ่านไปหนึ่งปี ผ่านฤดูร้อนแล้งที่ยาวนาน สถานการณ์ไฟป่าที่เผากันอย่างต่อเนื่องรายวัน คนงานและเจ้าหน้าที่ของ “สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน” เฝ้าดูแล “ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง” จนผ่านพ้นมาได้อีกปี มิใช่เพียงกำลังทรัพย์ (ที่มีอยู่อย่างจำกัด) แต่มันคือ “พลังใจ” จากพลังคนที่มีอยู่อย่างน้อยนิด…

ความร่มรื่นและบรรยากาศตลาดภายใต้ร่มไม้แห่งนี้ จะยังคงอยู่เพื่อสร้าง “ผลลัพธ์” และ”ผลกระทบ” ให้กับชุมชนได้อีกนานแค่ไหน….

ขอบคุณ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่ยังให้โอกาส เติมกำลังทุนสนับสนุน “โครงการตลาดชุมชนฟาร์มกวางตามแบบเศรษฐกิจ BCG ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หล่อเลี้ยงกำลังใจให้เรา “ไปต่อ” เพื่อสร้างประโยชน์อันเป็นส่วนประกอบเล็ก ๆ ของสังคมและชุมชนต่อไป…

ขอบพระคุณ ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ สำหรับทุกการสนับสนุนและเติมพลังแห่งจิตวิญญาณให้พวกเราอย่างไม่เคยสิ้นสุด…😄

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #เศรษฐกิจBCG

“ปรัชญาแห่งความพอเพียง”

“ปรัชญาแห่งความพอเพียง”

เสียงเปียโนเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” โดย ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร ที่แว่วมาจาก “หอปรัชญา” ขนาดเล็กของตลาดชุมชนฟาร์มกวางทุก ๆ เช้า มันแว่วดังในความคิดทุก ๆ ครั้งที่รู้สึกเหนื่อยล้ากับเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นในชีวิต…. โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความวิกฤตนี้

ท่วงทำนองของดนตรี ทั้งปลอบโยน และให้กำลังใจในเวลาเดียวกัน ซุ้มขายของที่ทำด้วยไม้ไผ่ หญ้าแฝก เสียงร้องของกวาง นก แมลง แผ่นป้ายปรัชญาต่างๆ ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ร่มรื่น กลับสร้างบรรยากาศแห่งความสงบในจิตใจ….

ความทุกข์ยากลำบากของชาวบ้าน ความหวังในการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ ในสังคมและชุมชน นั้นยังมีอีกมากมาย ที่ท้าทายรอสติปัญญา ความสามารถของเหล่าครูบาอาจารย์และบุคลากรในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ออกไปท้าชน ต่อสู้ บรรเทา และแบ่งเบา

เสียงพูดคุย หัวเราะ หยอกล้อเล่นกันของเด็ก ๆ ถึงแม้จะทำลายความเงียบสงบของสถานที่ไป แต่กลับเพิ่ม สร้างสีสรรและคุณค่าใหม่ให้อย่างน่าทึ่ง การถ่ายทอดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เด็ก ๆ ได้ “เข้าใจ” นั้นทั้งยากและท้าทายบนบริบทใหม่ของสังคมแห่งโลกดิจิตอล ซึ่งอาจเป็นบทพิสูจน์ใหม่อันหนึ่งในชีวิตของการเป็นผู้แสวงหาและถ่ายทอดความรู้ในหน้าที่ของการเป็นครูบาอาจารย์ต่อสังคมไทย

แต่ก่อนอื่นคงต้องลดความทะยานอยาก รู้จัก “พอ” และหันกลับมาทบทวน “ความพอเพียง” ที่แฝงอยู่ใน “หลักปรัชญา” ก่อน

ภาระกิจการเดินทางเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยที่เชียงรายและลากยาวต่อเนื่องมาถึงการต้อนรับคณะเด็กน้อยและคุณครูจากพิษณุโลกจะสำเร็จลงมิได้เลยในการทำงานเป็น “ทีม” ที่นำโดย รศ.ดร.มณี และยังมีส่วนของทีมใน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย ป้าเฟิร์น น้าแมลงปอ และน้าเอ้ ที่ทำให้ทัพหน้าทำงานแบบไม่ต้องห่วงหลัง…

เสียงเปียโนสุดท้ายของเพลง “แสงเทียน” จบลง…. ความคิดอ่านในใจยังไม่จบ หัวใจกลับพองโตด้วยศรัทธาและความหวัง…. ที่ยังมีดุจแสงเทียนส่องนำทาง

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9

วีดีโอบรรยากาศ

วีดีโอบรรยายกาศ 1

วีดีโอบรรยายกาศ 2

วีดีโอบรรยายกาศ 3

 

การทำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวาง เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy ที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง

3 มีนาคม 2566
(4 ชั่วโมง ก่อนไฟป่าจะเข้าประชิดรั้วฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

การทำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวาง เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy ที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งใจไว้นั้น มิได้มุ่งเน้นการค้าขาย แต่ต้องการใช้มูลกวางที่มีปริมาณมากให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนในช่วงเวลาต่อจากนี้…

ปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวาง อาจไม่ใช่ปุ๋ยที่เร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็วทันใจเหมือนปุ๋ยเคมีหรืออาหารของพืชที่ปลูกแบบไร้ดิน แต่มีคุณสมบัติการเพิ่มจุลลินทรีย์ที่จำเป็นต่อระบบนิเวศของดินให้ระบบของธรรมชาติทำงาน… สร้างความร่วนซุย และมีธาตุอาหารที่พืชใช้ประโยชน์ได้ทันทีอยู่พอสมควร

ลุงธง… (ธงชัย) เป็นศิษย์เก่ารัฐศาสตร์รามคำแหงที่มีบุคลิกพิเศษในความซื่อตรงและแข็งกร้าวดุจไม้บรรทัด แต่มีความอ่อนไหวทางอารมณ์เหมือนยอดหญ้า… เป็นคนที่ศึกษาการเพาะเลี้ยงไส้เดือนโดยไม่ต้องมีพื้นฐานทางชีววิทยาเลยแม้แต่น้อย มีเพียงความมุ่งมั่นที่จะทำงานที่ได้มอบหมายให้สำเร็จลุล่วงเท่านั้น

ความแข็งกร้าวของลุงธง กลับสามารถสอดประสานกันได้อย่างน่าประหลาดกับความอ่อนไหวและนุ่มนวลของไส้เดือน เด็กน้อยถึงแม้จะเป็นเด็กต่างจังหวัด บางคนกลับมีวิถีชีวิตแบบ “คนเมือง” ตามสังคมโลกาภิวัฒน์ ไม่ค่อยมีโอกาสคลุกขี้ดินขี้โคลนมากนัก

แต่ในวันนี้ไส้เดือนตัวน้อยในความดูแลของลุงธง อาจได้ทำหน้าที่ “ดึง” เด็ก ๆ ให้กลับมาสนใจผืนดินที่เขาเหยียบยืน จุดประกายความคิดบางอย่าง ได้มีโอกาสนำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากมูลกวางไปใส่ต้นไม้แปลงผักในฟาร์มกวาง เป็นการถ่ายทอด “หลักปรัชญาแห่งความพอเพียง” โดยการ “สัมผัส” ด้วยใจและมือของตัวเอง…..

โปรดติดตามตอนต่อไป….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #ปุ๋ยมูลไส้เดือน

ชมคลิปวีดีโอบรรยากาศกิจกรรมให้ความรู้ด้านล่างนี้

คลิปวีดีโอกิจกรรมให้ความรู้

ขนมแดกงา…ขนมโบราณ

3 มีนาคม 2566
(4 ชั่วโมง 34 นาที ก่อนไฟป่าจะเข้าประชิดรั้วฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

ขนมแดกงา… โดยลุงเคน

ขนมแดกงา ข้าวแดกงา ข้าวปุกงา ข้าวหนึกงา ล้วนเป็นขนมโบราณที่มีกำเนิดมาจากข้าวเหนียวนึ่ง นำมาตำด้วยครกไม้ตำข้าวแบบวิถีชีวิตชาวบ้านจากอดีตสืบทอดต่อกันมา แล้วคลุก (แดก) ด้วยงาดำคั่วบดและเกลือ เป็นอาหารที่ชาวบ้านกินกันมาหลายชั่วอายุ และมีการประยุกต์นำมาใส่ไส้มะพร้าวกวนเพื่อเพิ่มรสชาติ….

ขนมแดกงาของคุณป้าคนหนึ่ง ที่เคยนำมาขายในตลาดชุมชนฟาร์มกวาง ทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวการดำรงชีวิตที่ “เป็น” อยู่แล้วของ “ปรัชญาแห่งความพอเพียง” ในชีวิตและครอบครัวของคุณป้า รวมถึงอีกหลาย ๆ ชีวิตในจังหวัดสุโขทัย… ที่เรียบง่าย มีความสุขตามอัตภาพ และอยู่ในถิ่นฐานบ้านเกิด ที่นับวันตั้งตารอคอยคนรุ่นใหม่ หวนคืนกลับมาดูแล…

ลุงเคน… (พี่เคน) ทำหน้าที่สื่อสาร กระบวนการเกิดของขนมโบราณชนิดนี้ด้วยใจ… ความสุขของลุงเคนนั้นหลบซ่อนอยู่ภายใต้แววตาที่มองเห็นเด็กตัวน้อยกำลังตำข้าว ปั้นก้อนข้าวเหนียวคลุกงา และกินอย่างเอร็ดอร่อย เสียงหัวเราะ คงบรรเทาความทุกข์กังวลจากหน้าที่การงาน (ที่ไม่ปกติธรรมดา) ลงไปได้บ้าง…

ขณะนี้ ขนมแดกงาและลุงเคน ได้ทำหน้าที่ของมันในกิจกรรมที่พยายามสื่อหลัก “ปรัชญาแห่งความพอเพียง” ออกไปได้ตามครรลองแล้ว….

โปรดติดตามตอนต่อไป….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง #หอปรัชญารัชกาลที่9 #ขนมแดกงา

ชมคลิปวีดีโอได้ที่ลิ้งด้านล่างนี้

คลิปกิจกรรมทำขนมแดกงา

คลิปกิจกรรมทำขนมแดกงา2

คลิปกิจกรรมทำขนมแดกงา3

คลิปกิจกรรมทำขนมแดกงา4

เด็ก ๆ คณะครู และผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่า ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก ร่วมร้อยชีวิต เข้าเยี่ยมชม ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ.สุโขทัย

3 มีนาคม 2566
(5 ชั่วโมง 4 นาที ก่อนไฟป่าจะเข้าประชิดรั้วฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

เด็ก ๆ คณะครู และผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่า ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก ร่วมร้อยชีวิต เข้าเยี่ยมชม ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ.สุโขทัย โดยมีนายก อบต. เมืองเก่า และคณะ ร่วมประสานงานและให้การต้อนรับ…

นี่คงแสดงให้สังคมเห็นถึง ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) อย่างชัดเจน จากการที่หน่วยงานให้ทุนต่าง ๆ ไล่เรียงมาจากอดีตตั้งแต่ทุนสนับสนุนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จวบจนกระทั่ง สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และหอปรัชญารัชกาลที่ 9 ให้โอกาสกับฟาร์มกวางฯ ได้สร้างจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการช่วยเหลือ ส่งเสริม กระตุ้นการเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจชุมชนที่ฐานรากอย่างแท้จริง…

คงไม่มีคำรวบรัดใด ๆ ที่สามารถบรรยายความสุข ความสนุก และ “แววตาแห่งการอยากรู้อยากเห็น” ของเด็กน้อยได้หากท่านมิได้มาเห็นและสัมผัสด้วยตัวเอง

อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของทีมวิจัยจากฟาร์มกวางเป็นอย่างมากในการ “จับประเด็น” จากงานวิจัยที่ผ่านมา “ผสมผสาน” กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” กลั่นออกมาเป็นการถ่ายทอดให้เด็กน้อย “เข้าใจ” ความพอเพียงบนยุคสมัยที่เขาเกิดมาพร้อมมือที่กำลังกำ mobile phone และสนุกอยู่กับมัน เราจึงใช้การสื่อสารและบอกกล่าวเรื่องราวผ่านทางกิจกรรมที่เป็นตัวแทนหนึ่งของชีวิตผู้คนใกล้ ๆ ตัวในชุมชน โดยผสมผสาน “อัตลักษณ์” ของฟาร์มกวางเข้าไว้ด้วยกันดังที่จะขอบอกเล่าเรื่องราวแยกเป็นตอน ๆ ไป…ดังต่อไปนี้…
ขนมแดกงา… โดยลุงเคน
เรื่องของไส้เดือน… โดยลุงธง
การใกล้ชิดน้องกวาง… โดยน้าจอม
และสุดท้าย คือบทสรุปแห่งความพอเพียง

โปรดติดตามตอนต่อไป….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

การแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Innovation for Sustainable Local Development นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

การแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและการประชุมวิชาการ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Innovation for Sustainable Local Development นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ในการนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก
เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 26-28 กุมภาพันธ์ 2566

ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ ดร. มณี อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้การต้อนรับท่านรัฐมนตรีและท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง ที่บริเวณนิทรรศการมีชีวิต โครงการ “การสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากฟาร์มต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ได้มีโอกาสรายงานผลการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ “นำร่อง” ในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชนรอบๆฟาร์มกวาง จังหวัดสุโขทัย

และยังได้มีโอกาสต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งท่านได้ให้กำลังใจในการนำการวิจัยไปสร้างโอกาสให้กับชุมชน…

ขอขอบพระคุณสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง… ที่ให้โอกาสมานำเสนอผลงานในครั้งนี้….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง