ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้

เรียนสมาชิกเครือข่ายฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงและเกษตรกรผู้สนใจทุกท่าน….

ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในหัวข้อต่าง ๆ ตามรายละเอียดโปสเตอร์ที่แนบมานี้

ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ทั้งที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ.สุโขทัย และผ่านทางระบบ online

สำหรับสมาชิกเครือข่ายฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เคยมาร่วมฝึกอบรมในโอกาสต่าง ๆ ที่ผ่านมาที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย หากท่านมีเวลาสามารถเดินทางมาได้ ก็เปรียบเสมือนได้พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นกันอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและแนวทางใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจการเกษตรที่ท่านกำลังดำเนินการ อันจะเป็นเสียงสะท้อนสู่สังคมและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขอบคุณมากครับ…

ประชุมหารือร่วมกันในการหาแนวทางในการทำให้ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนแห่งใหม่ของ จ.สุโขทัย

จากวัตถุประสงค์แรกเริ่มก่อตั้งฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่องานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ ยุคสมัยและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจนทำให้ฟาร์มกวางฯ ต้องปรับตัวปรับแนวทางใหม่ ทั้งเพื่อให้ “เลี้ยงตัวเอง” และยังสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิมได้

วันนี้คณะทำงานของจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำ จ.สุโขทัย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม จ.สุโขทัย องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน หน่วยงานเอกชน และตัวแทนชุมชนรอบๆฟาร์มกวางฯ เข้าประชุมหารือร่วมกันในการหาแนวทางในการทำให้ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนแห่งใหม่ของ จ.สุโขทัย

บันทึกไว้……ก่อนจะกลายเป็นเพียงตำนาน

#หาเลี้ยงตัวเอง #แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกวาง #งานวิจัย #ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ก่อนจะกลายเป็นตำนาน #สุโขทัย #ทุกชีวิต #newnormal #เขากวางอ่อน #stayin_alive #staying_alive






 

 

ชาวบ้านบึงธรรมโรง เดินทางมาขอเข้าเยี่ยมชมฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง

สืบเนื่องจากเมื่อวาน…

ที่ได้ไปเยี่ยมเยือนชาวบ้านชุมชนบ้านบึงธรรมโรง ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ที่สนใจจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนฟาร์มกวาง

วันนี้ชาวบ้านบึงธรรมโรง เดินทางมาขอเข้าเยี่ยมชมฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษาธรรมชาติวิทยาของกวาง วิธีการเลี้ยง การจัดการ การปลูกพืชอาหารสัตว์ เบื้องต้น เพื่อจัดเตรียมกำลังคน และสถานที่ให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่การทำเกษตรกรรมแนวทางใหม่ ซึ่งจะมีฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นพี่เลี้ยงร่วมบูรณาการทุกองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชนบ้านบึงธรรมโรงให้เข้าสู่การเป็นสังคมเกษตรกรรมที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน…

12 มิถุนายน 2565

บันทึกไว้……ก่อนจะกลายเป็นเพียงตำนาน

#หาเลี้ยงตัวเอง #แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกวาง #งานวิจัย #ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ก่อนจะกลายเป็นตำนาน #สุโขทัย #ทุกชีวิต #newnormal #เขากวางอ่อน #stayin_alive #staying_alive

มาเยี่ยมชมสถานที่ หมู่บ้าน ชุมชน ขอคำแนะนำการจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนฟาร์มกวางบ้านบึงธรรมโรง”

สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน (ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ได้รับการติดต่อจากชาวบ้านบึงธรรมโรง ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ให้มาเยี่ยมชมสถานที่ หมู่บ้าน ชุมชน ขอคำแนะนำการจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนฟาร์มกวางบ้านบึงธรรมโรง” อันมีวัตถุประสงค์ในการสร้างฟาร์มเลี้ยงกวาง เพื่อสร้างรายได้เสริม..

เมื่อพิจารณาจากสถานที่ตั้ง ภูมิประเทศ ทรัพยากร และกำลังคนในชุมชนแล้ว พบว่าสามารถดำเนินการได้ ซึ่งทางฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงสามารถให้การสนับสนุนการดำเนินการในเรื่องสายพันธุ์กวางในราคาที่เหมาะสม ให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงและการจัดการได้อย่างครบวงจร ตลอดจนให้คำแนะนำว่าชุมชนสามารถก้าวไปถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบโฮมสเตย์ ที่มีกวางเป็นจุดดึงดูด จุดขาย ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสชีวิตและธรรมชาติในสังคมเกษตรกรรม อันจะทำให้วิสาหกิจชุมชนที่จะจัดตั้งดำเนินกิจการด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน…

11 มิถุนายน 2565

บันทึกไว้……ก่อนจะกลายเป็นเพียงตำนาน

#หาเลี้ยงตัวเอง #แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกวาง #งานวิจัย #ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ก่อนจะกลายเป็นตำนาน #สุโขทัย #ทุกชีวิต #newnormal #เขากวางอ่อน #stayin_alive #staying_alive

ประชาสัมพันธ์ จำหน่ายกวางให้กับผู้ที่สนใจ

เรียนท่านสมาชิก
เครือข่ายฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงและผู้สนใจทุกท่านครับ…

สืบเนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มีนโยบายให้ฟาร์มกวางฯ ต้องหาเลี้ยงตัวเอง….

เพื่อให้ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เป็นแหล่งรวม และเผยแพร่ความรู้อย่างเป็นทางการภายใต้หน่วยงานของรัฐฯ แห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนี้ ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้….

จึงขอประกาศลดจำนวนกวางที่มีอยู่ ให้สมดุลกับการผลิตพืชอาหารสัตว์ และรายได้ที่มีเข้ามา จนกระทั่งฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถเลี้ยงตัวเองได้….

– กวางรูซ่าเพศผู้ อายุ 5-10 ปี จำนวน 77 ตัว
– กวางรูซ่าเพศผู้ อายุ 1-4 ปี จำนวน 72 ตัว

หากสมาชิกฯ หรือเกษตรกร สนใจสามารถติดต่อได้ที่
คุณ ธงชัย 086-949-6037
คุณกาย 082-802-0978
สำนักงานที่กรุงเทพฯ 02-310-8694

ขอบคุณมากครับ….

#หาเลี้ยงตัวเอง #แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกวาง #งานวิจัย #ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ก่อนจะกลายเป็นตำนาน #สุโขทัย #ทุกชีวิต #newnormal #เขากวางอ่อน #stayin_alive #staying_alive #ฝึกอบรม #GAP #กวาง #กวางรูซ่า #RusaDeer

คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564

คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564

แนวทางการตรวจประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564

คู่มือจัดทำ SAR สำหรับการตรวจแบบออนไลน์

อธิการบดีและคณะเข้าเยี่ยมชมฟาร์มกวาง ปี2565

 

ขอขอบคุณ…
ผศ.ดร. สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะ ที่เข้าเยี่ยมชมฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้ให้คำปรึกษารวมถึงแนวทางในการดำเนินการต่อไป

5 มีนาคม 2565

บันทึกไว้……ก่อนจะกลายเป็นเพียงตำนาน

#หาเลี้ยงตัวเอง #แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกวาง #งานวิจัย #ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง #ก่อนจะกลายเป็นตำนาน #สุโขทัย #ทุกชีวิต #newnormal #เขากวางอ่อน #stayin_alive #staying_alive

งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564” (Thailand Research EXPO 2021)

สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อนมหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้าร่วมจัดผลงานวิจัย

ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564” (Thailand Research EXPO 2021) ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง วันที่ 22-26 พย. 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

พร้อมกับซุ้มเกียรติยศ ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) จัดในนาม มหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถ้วยพระราชทานฯ Platinum Award ของทุกๆ พ. ศ. แต่ละปีค่ะ

สำหรับ “มหาวิทยาลัยรามคำแหง”

ได้รับรางวัลที่ 1 ถ้วยพระราชทานฯ Platinum Award ในปี 2561 จากผลงานวิจัย เรื่อง

“การบูรณาการนวัตกรรมเชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาต่อยอดการทำฟาร์มกวางสู่การเกษตรสมัยใหม่”

และรุ่งปี พ.ศ. 2562 ฟาร์มกวางก็ได้รับรางวัล Bronze Award อีกครั้งหนึ่งค่ะ จากผลงานวิจัยเรื่อง “ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงในสังคมเกษตรยุคใหม่”

ในงานเดียวกันนี้แต่คนละปีค่ะ

บูธปัจจุบัน 2564

ซุ้มเกียรติยศ สำหรับ มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถ้วยพระราชทานฯ Platinum Award ของ “มหาวิทยาลัยรามคำแหง” ได้รับรางวัลที่ 1 ถ้วยพระราชทานฯ เมื่อปี 2561

โครงการที่ได้รับรางวัลที่ 1 นี้

“นวัตกรรมเพื่อการทำฟาร์มกวางสมัยใหม่”

ขณะนี้ ยื่นเรื่องไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ระหว่างขั้นตอน จดสิทธิบัตรนวัตกรรมของฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงในนามเจ้าของสิทธิบัตร คือ “มหาวิทยาลัยรามคำแหง” จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 ชิ้นงาน

งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564” (Thailand Research EXPO 2021)

วันนี้เป็นวันที่ 2 ที่น้องๆเจ้าหน้าที่ “สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน” มหาวิทยาลัยรามคำแหง กำลังจัดเตรียมนิทรรศการ การจัดการความรู้

“เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มกวาง (GAP)

ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564” (Thailand Research EXPO 2021) ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง วันที่ 22-26 พย. 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพ

สำหรับค่ำคืนนี้ คงอยู่จัดงานกันถึงเที่ยงคืน….