เด็ก ๆ คณะครู และผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่า ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก ร่วมร้อยชีวิต เข้าเยี่ยมชม ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ.สุโขทัย

3 มีนาคม 2566
(5 ชั่วโมง 4 นาที ก่อนไฟป่าจะเข้าประชิดรั้วฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

เด็ก ๆ คณะครู และผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่า ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก ร่วมร้อยชีวิต เข้าเยี่ยมชม ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ.สุโขทัย โดยมีนายก อบต. เมืองเก่า และคณะ ร่วมประสานงานและให้การต้อนรับ…

นี่คงแสดงให้สังคมเห็นถึง ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) อย่างชัดเจน จากการที่หน่วยงานให้ทุนต่าง ๆ ไล่เรียงมาจากอดีตตั้งแต่ทุนสนับสนุนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จวบจนกระทั่ง สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และหอปรัชญารัชกาลที่ 9 ให้โอกาสกับฟาร์มกวางฯ ได้สร้างจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการช่วยเหลือ ส่งเสริม กระตุ้นการเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจชุมชนที่ฐานรากอย่างแท้จริง…

คงไม่มีคำรวบรัดใด ๆ ที่สามารถบรรยายความสุข ความสนุก และ “แววตาแห่งการอยากรู้อยากเห็น” ของเด็กน้อยได้หากท่านมิได้มาเห็นและสัมผัสด้วยตัวเอง

อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของทีมวิจัยจากฟาร์มกวางเป็นอย่างมากในการ “จับประเด็น” จากงานวิจัยที่ผ่านมา “ผสมผสาน” กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” กลั่นออกมาเป็นการถ่ายทอดให้เด็กน้อย “เข้าใจ” ความพอเพียงบนยุคสมัยที่เขาเกิดมาพร้อมมือที่กำลังกำ mobile phone และสนุกอยู่กับมัน เราจึงใช้การสื่อสารและบอกกล่าวเรื่องราวผ่านทางกิจกรรมที่เป็นตัวแทนหนึ่งของชีวิตผู้คนใกล้ ๆ ตัวในชุมชน โดยผสมผสาน “อัตลักษณ์” ของฟาร์มกวางเข้าไว้ด้วยกันดังที่จะขอบอกเล่าเรื่องราวแยกเป็นตอน ๆ ไป…ดังต่อไปนี้…
ขนมแดกงา… โดยลุงเคน
เรื่องของไส้เดือน… โดยลุงธง
การใกล้ชิดน้องกวาง… โดยน้าจอม
และสุดท้าย คือบทสรุปแห่งความพอเพียง

โปรดติดตามตอนต่อไป….

#ตลาดชุมชนฟาร์มกวาง #สถานที่แห่งการเรียนรู้ #ทุกวันหยุดคือวันครอบครัว #กิจกรรมมากมาย #ขนมไทย #ขนมโบราณ #มุมถ่ายรูปเก๋ๆ #หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง #ระเบิดจากข้างใน #แบ่งโลกนี้ให้เท่าเทียมกัน #ขาดทุนคือกำไร #สุโขทัย #เศรษฐกิจชุมชน #เศรษฐกิจฐานราก #สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง